1. ปฏิเสธการรับข้อมูล โดยไม่เปิดดู ไม่บันทึก และไม่กดไลค์ (Like)
2. ไม่ส่งต่อ ไม่แชร์ ไม่เผยแพร่ เพราะนอกจะกระจายข้อมูลที่ไม่เป็นจริงแล้ว ยังอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
3. แจ้งครูหรือผู้ปกครอง
4. แจ้งผู้เกี่ยวข้องที่ดูแลเว็บไซต์นั้น
5. แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจหากเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบไม่จัดการปัญหาที่เกิดขึ้น
แนวทางการพิจารณาเนื้อหาก่อนเผยแพร่ข้อมูล
1. ความเป็นส่วนตัว
ต้องเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลว่าข้อมูลนั้นเกี่ยวกับใคร สามารถเปิดเผยต่อผู้อื่นได้หรือไม่
2. ความถูกต้อง
ข้อมูลที่ใช้มีความถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ และต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดของข้อมูล ดังนั้นต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อน
3. ทรัพย์สินหรือความเป็นเจ้าของ
ต้องรู้ว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูล มีความสำคัญหรือมูลค่ามากน้อยเพียงใด ให้ความเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น
4. การเข้าถึง
เป็นการระบุให้บุคคลหรือองค์กรใดมีสิทธิ์ในการเข้าถึงเกิดขึ้น
ข้อมูลและสารสนเทศในรูปแบบเอกสาร รูปภาพ หรือวิดีทิศน์ นับว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญหาประเภทหนึ่งที่เจ้าของสามารถแสดงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของได้ เช่น การใส่ชื่อ การระบุสัญลักษณ์ การใส่ลายน้ำ เป็นต้น